
- หน้าหลัก
- แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์
- หน่วยที่ 1 รู้จักกับ Flash CS4
- หน่วยที่ 2 การวาดรูปและลงสี
- แบบทดสอบก่อนเรียน
- ชนิดของภาพกราฟิก
- การกำหนดรายละเอียดของรูปทรงที่วาด
- การวาดเส้นตรงและเส้นโค้งเชื่อมต่อกันโดยใช้ Pen Tool
- แบบฝึกหัดที่ 1
- ใช้ Selection Tool และ Subselection Tool ปรับแต่งรูปทรงที่วาด
- ใช้พู่กันระบายสี Brush Tool
- ใส่สีเส้นขอบด้วย Ink Bottle Tool
- เทสีพื้นภาพโดยใช้ Paint Bucket Tool
- เลือกสีโดยใช้ Eyedropper Tool
- ลบภาพส่วนที่ไม่ต้องการด้วย Eraser Tool
- แบบฝึกหัดที่ 2
- แบบทดสอบหลังเรียน
- หน่วยที่ 3 การจัดการออบเจ็กต์
- แบบทดสอบก่อนเรียน
- เลือกวัตถุด้วยเครื่องมือ Selection Tool
- เลือกออบเจ็กต์อิสระด้วย Lasso Tool
- การจัดกลุ่มและแยกกลุ่มออบเจ็กต์
- การผสมออบเจ็กต์
- การเคลื่อนย้าย คัดลอก และการลบออบเจ็กต์
- แบบฝึกหัดที่ 1
- การวางซ้อนและการจัดการออบเจ็กต์(Arrange)
- การจัดเรียงออบเจ็กต์
- ปรับรูปออบเจ็กต์อย่างอิสระด้วย Free Transform Tool
- หมุนและเคลื่อนย้ายวัตถุแนว 3D ด้วย 3D Tool
- แบบฝึกหัดที่ 2
- แบบทดสอบหลังเรียน
- หน่วยที่ 4 การใช้สี
- หน่วยที่ 5 การสร้างข้อความ
- หน่วยที่ 6 การสร้างงานแอนิเมชั่น
- หน่วยที่ 7 การเผยแพร่ชิ้นงานที่สร้าง
- ชมวีดีโอสาธิต
ในวันนี้ : 19 คน
เดือนนี้ : 628 คน
ในปีนี้ : 3956 คน
ทั้งหมด : 42506 คน
หน่วยที่ 5 - กำหนดขนาดกรอบข้อความเพื่อจัดข้อความโดยอัตโนมัติ
โพสเมื่อ : 25 เมษายน 2558 ดู 2163 ครั้ง
ในการสร้างข้อความนั้น แทนที่เราจะคลิกบนสเตจแล้วพิมพ์ข้อความเข้าไปในกรอบข้อความเพียงอย่างเดียว เราสามารถคลิกลากเมาส์กำหนดขนาดของกรอบข้อความได้ตามต้องการแล้วจึงปล่อยเมาส์ สังเกตว่ากรับข้อความนี้จะมีจุดสี่เหลี่ยมแทนกรอบข้อความแบบแรกที่มีจุดกลม แสดงว่ากรอบข้อความนี้ถูกกำหนดความกว้างไว้ เมื่อเราพิมพ์เลยข้อความสุดกรอบข้อความ สังเกตว่าข้อความนั้นจะถูกตัดคำขึ้นบรรทัดใหม่เลย (แทนที่จะขยายความกว้างกรอบข้อความไปเรื่อยๆ เหมือนตัวอย่างแรก)
จะเห็นได้ว่ากรอบข้อความแบบกำหนดความกว้างจะคุมไม่ให้ข้อความขยายเกินพื้นที่ที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นประโยชน์ในกรณีที่เราต้องการให้ข้อความถูกจัดอยู่ในบริเวณที่เจาะจงในชิ้นงาน
หากเราต้องการเปลี่ยนความกว้างของกรอบข้อความ ก็ให้คลิกลากจุดสี่เหลี่ยม แล้วขยาย/ย่อกรอบข้อความได้
แต่ในกรณีที่ต้องการให้กรอบข้อความนี้เป็นแบบขยายความกว้างเองได้อย่างอิสระ เหมือนในตัวอย่างแรก ให้เราดับเบิ้ลคลิกที่จุดสี่เหลี่ยมสังเกตว่าจุดสี่เหลี่ยมจะเปลี่ยนเป็นจุดวงกลม เมื่อเราพิมพ์ข้อความเข้าไปกรอบข้อความก็จะขยายตาม
ถ้าต้องการปรับกรอบข้อความให้มีความกว้างคงที่แบบเดิม ให้คลิกที่จุดวงกลมแล้วลากกำหนดความกว้างของกรอบตามต้องการ สังเกตว่าจุดวงกลม
จะเปลี่ยนเป็นจุดสี่เหลี่ยม
อีกครั้ง
สรุปลักษณะการสร้างข้อความและการพิมพ์ข้อความอย่างอิสระ
ไม่ว่าจะเป็นการสร้างข้อความในแนวตั้งหรือแนวนอน หากบริเวณมุมของกรอบข้อความเป็นรูปสี่เหลี่ยม แสดงว่า กรอบข้อความไม่สามารถขยายได้อย่างอิสระ กล่าวคือ เมื่อสุดบรรทัด โปรแกรมจะตัดบรรทัดให้อัตโนมัติ แต่ถ้าบริเวณมุมของกรอบข้อความเป็นวงกลม แสดงว่ากรอบข้อความสามารถขยายได้อย่างอิสระ และทำให้เราสามารถพิมพ์ข้อความยาวๆ ได้โดยที่โปรแกรมไม่ตัดข้อความของเราขึ้นบรรทัดใหม่